วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (ชั้น ม.3 )

อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครือข่ายใหญ่และเครือข่ายย่อยจำนวนมากเชื่อม
ต่อกันเป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียงโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก

รูปที่ 1.1 แสดงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก

อินเทอร์เน็ตมีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ
พ.ศ. 2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายเสรีประชาธิปไตยซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่ายต่าง
ก็กลัวขีปนาวุธของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกาวิตกว่าถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซียยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์
เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึง
ได้สั่งให้มีการวิจัยเพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อป้องกันความเสียหายโดยมีจุประสงค์
ว่าถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งถูกทำลายแต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำ
หน้าที่ดูแลระบบเครือข่ายในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้น
ชื่อเครือข่ายในขณะนั้นจึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 เครือข่ายขยายใหญ่โตเพิ่มมาก
ขึ้นจากการระดมนักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP
และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัยและทางทหารแล้วยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจและการ
าณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและนำมาใช้ประโยชน์ใน
การติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตเป็นครั้ง
แรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อ
กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับ
มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ
พลังงานได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุน
สนับสนุนแก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษาถึงการเชื่อมต่อเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจาก
นั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต
เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมลง
ทุนกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 ราย คือบริษัทอินเทอร์เน็ต
ประเทศไทย จำกัด และบริษัทอินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียลแอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด


2 บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่ง
ข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสารในปัจจุบันอย่างมาก
อินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้าน
หรือที่ทำงานภายในไม่กี่นาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดัง
2.1 เวิลด์ไวด์เว็บ
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดียบน
อินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือเสียง
ก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่นหรือเว็บไซด์อื่นได้ง่ายเพราะ
ใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรมที่ใช้ดู
ข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการ
ผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรง
ตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่าง ๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น


2.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูป
แบบการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถ
ส่งข้อความไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วยโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อม
กับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่
อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เราเรียกว่า E-mail Address




2.3 การโอนย้ายข้อมูล
ารโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ
FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Serverมายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download)
และการโอนย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
รูปที่ 1.5 แสดงการใช้บริการโอนย้ายข้อมูล (FTP)
2.4 การสืบค้นข้อมูล
การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดย
พิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้นเข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการให้ภายในเวลาไม่กี่นาที
โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่า Search Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์บางเว็บได้
ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็น
จำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้นการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่เป็นการสื่อสารผ่าน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจะใช้ไมโครโฟนและลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา

2.5 การสนทนากับผู้อื่น

2.6 กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์

กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณ
กระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่น
การศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น2.7 การสื่อสารด้วยข้อความ IRC



3 มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต
3.1 โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือตัวกลางหรือภาษากลางที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารในระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์นับร้อยล้านเครื่อง ซึ่งแต่ละ
เครื่องมีความแตกต่างกันทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อ
สื่อสารให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอลก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษาของระบบเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็น
ส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะ
กระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง



3.2 ระบบไอพีแอดเดรส(IP Address)

เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องนั้นคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก
มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น
193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้
ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)

3.3 โดเมนเนม (Domain Name)
โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษรที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรสที่
เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือ
องค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ

โดเมนเนม ความหมาย
com กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
edu กลุ่มการศึกษา (Education)
gov กลุ่มองค์กรรัฐบาล (Governmental)
mil กลุ่มองค์กรทหาร (Military)
net กลุ่มองค์การบริหาร (Network Service)
org กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)

โดเมนเนมที่แสดงข้างบนนี้เป็นองค์กรที่จดทะเบียนโดเมนเนมไว้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างเช่น www.hotmail.com เป็นต้น ส่วนโดเมนเนมที่ตั้งในประเทศอื่น ๆ จะมีตัวย่อเพิ่มขึ้นมา
อีกหนึ่งชุดคือตัวย่อของประเทศนั้นตัวอย่างเช่น www.moe.go.th คือองค์กรรัฐบาลที่อยู่ในประเทศไทย

โดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ ความหมาย
au ออสเตรเลีย (Australia)
fr ฝรั่งเศส (France)
th ไทย (Thailand)
3.4 โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้
ง่ายแต่การทำงานจริงของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรสอย่างเดิมดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี
ระบบที่จะทำการแปลงโดเมนเนมไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนมไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่า
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server)

รูปที่ 1.9 แสดงเครื่อง DNS SERVER แปลงโดเมนเนมเป็นไอพีแอดเดรส
3.5 ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ
เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address
ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ
www.hotmail.com/data.html
www คือ การแสดงว่าขณะนี้กำลังใช้บริการ www
hotmail คือ โดเมนเนมของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่
data.html คือ ตำแหน่งของไฟล์ที่เก็บเว็บเพจหน้านั้นอยู่


3.6 ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์
เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยง
ไปยังหน้าอื่น ๆ ได้
เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตและบรรจะไว้ในเครื่องคอม
พิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com
โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไป
ชมเว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการเปิดเว็บเพจและ
สามารถรับส่งไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตโดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพ
เสียง และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet
Explorer และ Opera โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดย
สามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertext หรือเอกสารHTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัสคำสั่งสำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าวเป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่มความสามารถ
และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น
WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ใช้สร้างเว็บเพจ
โดยการนำรูปภาพหรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจจะปรากฎหน้าเอกสาร
ของเว็บเพจเหมือนกับขณะที่ทำการสร้างการใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่าการเขียนด้วยภาษา HTML
มาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนองการสร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้
เช่น FrontPage, Dreamweaver Hotdog, AdobeGolive, Homesite เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น