วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สอบครั้งที่ 1 (ชั้นม.3)

ข้อสอบครั้งที่ 1
ให้นักเรียนเขียนกลอนอะไรก็ได้ให้แสดงบนเว็บไซต์
มีเงื่อนไขดังนี้
1.บันทึกชื่อว่า POEM.html
2.ใช้ 2 คนต่อเครื่อง
3.ให้บันทึกลงในไดรว์ D:
4.ถ้าลอกกัน คือ 0 คะแนน
5.ใช้เวลาก่อนหมดเวลาเรียน 5 นาที

บทที่ 3 แท็กของภาษา HTML (ชั้น ม.3)



























บทที่ 2 การสร้างเว็บเพจ (ชั้น ม.3)

การสร้างเว็บเพจ

การสร้างเว็บเพจ คือ การสร้างไฟล์เพื่อนำข้อมูลไปแสดงบนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมใดโปรแกรม
หนึ่ง โปรแกรมภาษาที่เป็นที่รู้จักและใช้งานกันทั่วไปคือโปรแกรมภาษา HTML ซึ่งภาษา HTML นี้เป็นเท็กซ์ไฟล์ธรรมดาที่ใช้นามสกุลว่า .htm สำหรับเครื่องที่ใช้ระบบ DOS หรือ .html สำหรับเครื่องที่ใช้ระบบ UNIX หรือ Windows หรือระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนการตั้งชื่อได้ยาว ๆ เราสามารถสร้างไฟล์ HTML จาก Text editor ทั่วไปได้ เช่น Notepad Wordpad Microsoft word เป็นต้น
ปัจจุบันภาษา HTML ได้ถูกกำหนดมาตรฐานขึ้นมาเป็นรุ่นที่ 4.0 มีขีดความสามารถสูงขึ้น มี องค์ประกอบในการสร้างฐานข้อมูลที่ดีขึ้น ด้วยความสามารถอันยอดเยี่ยมของ HTML ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ จะถูกนำมาแสดงตรงหน้าผู้ใช้โดยคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลผ่านโปรโตคอล HTTP เป็นโปรโตคอลหลัก ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตได้ วิธีการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML มีขั้นตอนดังนี้คือ
1. คลิกที่ปุ่ม Start
2. เลื่อนเมาส์มาชี้ที่ Programs
3. เลื่อนเมาส์มาชี้ที่ Accessories
4. คลิกที่โปรแกรม Notepad
5. จะปรากฏหน้าจอของโปรแกรม Notepad





เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Notepad ให้ทำการ Set Font ตัวอักษรให้สามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง โดยทำการเลือกตัวอักษรในตระกูล UPC หรือ MS Sans Serif โดยมีวิธีการดังนี้
1. คลิกที่เมนู Edit
2. คลิกที่คำสั่ง Set Font...
3. เลือก Font MS Sans Serif
4. ตัวอักษรแบบ Regular
5. ขนาดตัวอักษร 16
6. คลิกที่ปุ่ม OK
ให้ทำตามตัวอย่างข้างล่างนี้ นะครับ


ให้ทำการบันทึกข้างล่างนี้นะครับ

1.คลิกที่เมนู File
2. คลิกที่คำสั่ง Save As...
3. จะปรากฏกรอบโต้ตอบ Save As เลือกไดร์ฟ D:
4. คลิกที่เครื่องมือ Create New Folder
5. จะปรากฏโฟลเดอร์ใหม่ ให้ตั้งชื่อ Class3
6. ดับเบิลคลิกที่โฟลเดอร์ Class3 เพื่อบันทึกลงในโฟลเดอร์นี้
7. ในช่อง File name: พิมพ์ชื่อไฟล์ begin.html ในช่อง Save as type เป็น All File(*.*)
8. คลิกที่ปุ่ม Save เพื่อทำการบันทึกไฟล์
ดังรูปข้างล่างนี้นะครับ





บทที่ 1 บทนำเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (ชั้น ม.3 )

อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครือข่ายใหญ่และเครือข่ายย่อยจำนวนมากเชื่อม
ต่อกันเป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียงโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก

รูปที่ 1.1 แสดงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก

อินเทอร์เน็ตมีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ
พ.ศ. 2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายเสรีประชาธิปไตยซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่ายต่าง
ก็กลัวขีปนาวุธของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกาวิตกว่าถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซียยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์
เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึง
ได้สั่งให้มีการวิจัยเพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อป้องกันความเสียหายโดยมีจุประสงค์
ว่าถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งถูกทำลายแต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำ
หน้าที่ดูแลระบบเครือข่ายในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้น
ชื่อเครือข่ายในขณะนั้นจึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 เครือข่ายขยายใหญ่โตเพิ่มมาก
ขึ้นจากการระดมนักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP
และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัยและทางทหารแล้วยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจและการ
าณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและนำมาใช้ประโยชน์ใน
การติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตเป็นครั้ง
แรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อ
กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับ
มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ
พลังงานได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุน
สนับสนุนแก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษาถึงการเชื่อมต่อเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจาก
นั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต
เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมลง
ทุนกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 ราย คือบริษัทอินเทอร์เน็ต
ประเทศไทย จำกัด และบริษัทอินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียลแอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด


2 บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่ง
ข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสารในปัจจุบันอย่างมาก
อินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้าน
หรือที่ทำงานภายในไม่กี่นาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดัง
2.1 เวิลด์ไวด์เว็บ
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดียบน
อินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือเสียง
ก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่นหรือเว็บไซด์อื่นได้ง่ายเพราะ
ใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรมที่ใช้ดู
ข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการ
ผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรง
ตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่าง ๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น


2.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูป
แบบการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถ
ส่งข้อความไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วยโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อม
กับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่
อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เราเรียกว่า E-mail Address




2.3 การโอนย้ายข้อมูล
ารโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ
FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Serverมายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download)
และการโอนย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
รูปที่ 1.5 แสดงการใช้บริการโอนย้ายข้อมูล (FTP)
2.4 การสืบค้นข้อมูล
การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดย
พิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้นเข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการให้ภายในเวลาไม่กี่นาที
โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่า Search Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์บางเว็บได้
ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็น
จำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้นการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่เป็นการสื่อสารผ่าน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจะใช้ไมโครโฟนและลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา

2.5 การสนทนากับผู้อื่น

2.6 กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์

กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณ
กระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่น
การศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น2.7 การสื่อสารด้วยข้อความ IRC



3 มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต
3.1 โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือตัวกลางหรือภาษากลางที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารในระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์นับร้อยล้านเครื่อง ซึ่งแต่ละ
เครื่องมีความแตกต่างกันทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อ
สื่อสารให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอลก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษาของระบบเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็น
ส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะ
กระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง



3.2 ระบบไอพีแอดเดรส(IP Address)

เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องนั้นคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก
มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น
193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้
ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)

3.3 โดเมนเนม (Domain Name)
โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษรที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรสที่
เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือ
องค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ

โดเมนเนม ความหมาย
com กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
edu กลุ่มการศึกษา (Education)
gov กลุ่มองค์กรรัฐบาล (Governmental)
mil กลุ่มองค์กรทหาร (Military)
net กลุ่มองค์การบริหาร (Network Service)
org กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)

โดเมนเนมที่แสดงข้างบนนี้เป็นองค์กรที่จดทะเบียนโดเมนเนมไว้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างเช่น www.hotmail.com เป็นต้น ส่วนโดเมนเนมที่ตั้งในประเทศอื่น ๆ จะมีตัวย่อเพิ่มขึ้นมา
อีกหนึ่งชุดคือตัวย่อของประเทศนั้นตัวอย่างเช่น www.moe.go.th คือองค์กรรัฐบาลที่อยู่ในประเทศไทย

โดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ ความหมาย
au ออสเตรเลีย (Australia)
fr ฝรั่งเศส (France)
th ไทย (Thailand)
3.4 โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้
ง่ายแต่การทำงานจริงของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรสอย่างเดิมดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี
ระบบที่จะทำการแปลงโดเมนเนมไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนมไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่า
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server)

รูปที่ 1.9 แสดงเครื่อง DNS SERVER แปลงโดเมนเนมเป็นไอพีแอดเดรส
3.5 ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ
เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address
ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ
www.hotmail.com/data.html
www คือ การแสดงว่าขณะนี้กำลังใช้บริการ www
hotmail คือ โดเมนเนมของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่
data.html คือ ตำแหน่งของไฟล์ที่เก็บเว็บเพจหน้านั้นอยู่


3.6 ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์
เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยง
ไปยังหน้าอื่น ๆ ได้
เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตและบรรจะไว้ในเครื่องคอม
พิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com
โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไป
ชมเว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการเปิดเว็บเพจและ
สามารถรับส่งไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตโดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพ
เสียง และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet
Explorer และ Opera โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดย
สามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertext หรือเอกสารHTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัสคำสั่งสำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าวเป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่มความสามารถ
และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น
WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ใช้สร้างเว็บเพจ
โดยการนำรูปภาพหรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจจะปรากฎหน้าเอกสาร
ของเว็บเพจเหมือนกับขณะที่ทำการสร้างการใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่าการเขียนด้วยภาษา HTML
มาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนองการสร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้
เช่น FrontPage, Dreamweaver Hotdog, AdobeGolive, Homesite เป็นต้น